วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ร่วมใจสร้างโลก

แนวทางกู้ชีวิตให้กับโลก ลดปัญหาโลกร้อน
จากสถานการณ์ในขณะนี้ โลกกำลังอยู่ในขั้นวิกฤษอย่างหนัก ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิในโลกเกิดการแปรปรวน เดียวร้อน เดียวเย็น ซึ่งทำให้เกิดภัยธรรมชาติมากมายตามมา
ดังนั้นจึงมีการวิจัยคิดค้นครั้งยิ่งใหญ่ของโลก สิ่งนั้นคือ สถานีสร้างโอโซน(Osone station) เพื่อเป็นสถานีในการเพิ่มโอโซนในชั้นบรรยากาศบริเวณรูโหว่ หรือช่องโหว่ที่ถูกทำลายไปเมื่อหลายสิบปีก่อนนั้นเอง
โดยสถานีโอโซนจะมีอยู่ 2 สถานีด้วยกัน สถานีแรกเป็นการปล่อยก๊าซโอโซนจำนวนมหาศาลเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
สถานีที่ 2 เป็นการสร้างสถาวะหรือสภาพแวดล้อมให้กับบรรยากาศ เช่น อุณภมิ ก๊าซต่างที่จำเป็นที่จะทำให้เกิด
สภาพแวดล้อมที่เมาะสมที่สุดเพื่อจะทำให้ก๊าซโอโซนที่ปล่อยไปนั้นจับตัวกันเป็นกลุ่ม ไม่ลอยหายไปไหน
สถานีโอโซนนี้จะเป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ ประจำการอยู่เหนือรูโหว่ จะเป็นยานแม่สำหรับรับก๊าซโอโซนที่ผลิตจากโลก ที่จะถูกส่งขึ้นมาโดยยานลำเลียงก๊าซหลายร้อยลำ ที่นำก๊าซโอโซนมาถ่ายให้กับยานแม่ ซึ่งแน่นอนว่า งบประมาณในการสร้างต้องมหาศาลเลยที่เดียว
ซึ่งถ้าหากมนุษย์ยังยากอยู่ในโลกใบนี้ไปอีกนานแสนนานก็ต้องช่วนกัน ร่วมมือ ร่วมใจกัน พร้อมใจกันทั้งโลก
บริจากเงินหรือวัสดุต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผลิตยานอวกาศ โดยทุกประเทศทั่วโลกจะต้องหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจำก่อน ขั้นต่อมาแต่ละประเทศต้องส่งเงินเข้าโครงการดังกล่าวและคนงานหรือคนที่จะอาสามาทำงานของแต่ละประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะทำให้โครงการนั้นเสร็จเร็วขึ้น
ซึ่งอาจจะคิดว่าความคิดนี้ไรสาระ แต่ลองเปรียบเทียบกับผึ้งที่มันสร้างรังของมันวันละนิด ๆ จนสำเร็จ ดังนั้น การที่จะใช้เทคโนโลยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกมุ่งเป่าไปที่การปิดช่องโหว่ อาจจะดูว่าเป็นไปได้ยากแต่ก็เป็นไปได้ โดยใช้เครื่องบินทั้งหมดที่สามารถบินอยู่ใต้ชั้นบรรยากาศได้ ปล่อยก๊าซโอโซนจากข้างในโลกอีกทางหนึ่ง ทำไปทุกวันคงไม่กี่สิบปีโลกของเราก็จะเย็นสบายเหมื่อนที่เคยเป็น(ทั้งหมดนี้เป็นจิตนาการของผมเอง)

อ๊อด

โปรแกรมแกะแทปกีต้าร์

การเขียนโปรแกรม
อ๊อต คอมพิวเตอร์ศึกษาปี 2/2552 Sisaket University
แรงบรรดาลใจในการเริ่มเขียนโปรแกรมอย่างจริงๆ จังๆ คือ การที่ผมอย่างจะลดขั้นตอนในการแกะเพลงในการเล่นกีต้าร์มื่อกีต้าร์ต้องใช้เวลาในการแกะเพลงเป็นเวลานาน ทำให้ช้าไม่ทันในการเล่นบางครั้ง และอยากจะสร้างแบบฝึกสอนให้เพื่อน ๆ นักดนตรีที่กำลังฝึกหัดได้เล่นตามเพื่อที่จะได้พัฒนาตนเองสู่ขั้นเทพได้เร็วขึ้น ซึ่งโปรเจ็กที่ผมคิดขึ้นมานี้
มันมีลักษณะเป็นแทปกีต้าร์ แทปกลอง และแทปเบส ซึ่งอยู่ในรูปแบบของไฟล์ midi ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดไฟล์นี้ได้เช่น guitar pro, power tab เป็นต้น ซึ่งตัวโปรแกรมทึ่ผมสร้างขึ้นนี้จะเป็นการนำเพลงไฟล์ต่าง ๆ เช่น mp3 audio เข้าไปในโปรแกรม แล้วโปรแกรมจะทำการแยกเสียง หรือ แยกแทรกออกเป็นส่วน ๆ คือ เอากลองออกมาต่างหาก กีต้าร์ เบส อย่างละแทรก เมื่อได้แต่ละแทรกแล้ว โปรแกรมก็จะแปลงจากไฟล์ ออดิโอ เป็น midi เมื่อแปลงได้เรียบร้อยแล้วก็ทำการแปลค้าออกมาเป็น แทปกีต้าร์หรือเบสแล้วแต่แทรก เมื่อได้ทั้งสามแทรกเรียบร้อยแล้วก็มาที่ขั้นต่อมาคือการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ที่โปรแกรมอาจทำงานผิดผลาด เมื่อแก้ไขข้อผิดผลาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการทดสอบโดยเปิด ply ในโปรแกรม ในการเล่นนั้นเราสามารถเลือกเสียงต่าง ๆ ได้ตามต้องการเช่น เสียงแตก หรือเสียงกีต้าร์อะคุสติก เป็นต้น เสียงแตกนี้สามารถนำโปรแกรมเช่นGuitar rig คือโปรแกรมเอฟเฟกกีต้าร์ มาปลั๊กอินได้ ทำให้ได้เสียงที่สมบูรณ์เหมื่อนต้นฉบับเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
ซึ่งถ้าเสียงที่นอกเหนือจาก 3 แทรกก็จะตัดออดทั้งหมดเลยและยังมีอีกส่วนหนี่งคือเนื่อเพลงจะนำไปแปลเป็นตัวอักษรต่างหาก จนถึงขั้นตอนที่ 3 ก็นำมา mix เข้ากับแทปทั้ง 3 แทป แล้วก็ใช้ bakrow ของโปรแกรมเป็นสีพื้นหลัง
พอเราได้แทปทั้งหมดแล้วก็จะแยกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่เป็นไฟล์ ไมดิ และ เท็ก
ไฟล์ ใช้สำหรับการที่ให้สมาชิกในเว็บไซด์มาดาวโหลด

โปรแกรมนี้ชื่อ Tab player Edition version 1.0

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำสั่งDos

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DOS
DOS = Disk Operating System
แฟ้มข้อมูลและการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล (File and File Names)
ในการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล DOS จะยินยอมให้ตั้งได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษร ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข หรือพยัญชนะ หรือทั้งสองอย่างปนกันก็ได้ แต่ในการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล ห้ามใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ คือ
* ? . \ " / [ ] : – < > + = ; ,
ในชื่อไฟล์จะต้องไม่มีที่ว่างอยู่ในชื่อ
ในชื่อแฟ้มข้อมูลควรจะมีส่วนขยาย (extension) ด้วย เพื่อใช้บอกชนิดของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
ซึ่งส่วนขยายนี้ อาจจะมี 1 หรือ 2 หรือ 3 ตัวอักษรก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ตัวอักษร
เวลาตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล ก็ให้ใส่ . (จุด) คั่นระหว่างชื่อแฟ้มข้อมูลและส่วนขยาย ดังตัวอย่าง
TEXT.BAK 90PRICES.WK1 LETTER.DOC CUSTOMER.DBF AUTOEXEC.BAT COMMAND.COM CUPRINT.EXE
ชนิดของคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มี 2 ประเภท คือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งซึ่งจะถูกอ่านเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อ DOS ถูก Loaded เข้ามา คำสั่งเหล่านี้จะจะทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีไฟล์อยู่ คำสั่งภายใน ได้แก่
DIR , COPY , DELETE , REN , TYPE , MD , CD , RD , CLS , DATE , TIME , VER
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งเหล่านี้จะต้องมีโปรแกรมอยู่ในดิสก์ เมื่อคำสั่งถูกเรียกใช้งาน DOS จะทำการค้นหาบนแผ่นดิสก์และอ่านคำสั่งเข้าไปในหน่วยความจำแล้วจึงทำงาน คำสั่ง
ภายนอก ได้แก่
CHKDSK, DISKCOPY, FORMAT, UNFORMAT, RESTORE, LABEL, UNDELETE เป็นต้น
ถ้าผู้ใช้สั่งงาน โดยใช้คำสั่งที่ไม่มีใน DOS หรือพิมพ์คำสั่งผิด เครื่องจะบอกว่า
BAD COMMAND OR FILENAME
การใช้คำสั่งเดิม ( Repeat Commands ) ผู้ใช้สามารถเรียกคำสั่งที่เพิ่งสั่งให้เครื่องทำงานล่าสุด มาใช้
ได้อีกอย่างรวดเร็ว โดยใช้คีย์พิเศษ ดังนี้
[F3] = เรียกคำสั่งล่าสุดมาทั้งหมด
[F1] = เรียกคำสั่งล่าสุดมาทีละ 1 ตัวอักษร
การใช้ WILD CARD CHARACTERS
เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถใช้แทนชื่อไฟล์ได้ในคำสั่ง DOS ได้แก่
? - ใช้แทนตัวอักษรใดๆก็ได้ 1 ตัว ที่อยู่ในตำแหน่งนั้น ของชื่อไฟล์ หรือส่วนขยาย
* - ใช้แทนจำนวนตัวอักษรทั้งหมด ในชื่อไฟล์ หรือส่วนขยาย
DOS COMMAND
ก. คำสั่งภายใน (Internals Command หรือ RAM-Resident)
คำสั่งเหล่านี้จะรวมอยู่ในไฟล์ที่ชื่อ COMMAND.COM ซึ่งจะถูกเรียก (loaded) เข้าสู่หน่วยความจำ RAM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่เปิดเครื่องครั้งแรก (หรือเรียกว่า Boot เครื่อง) ด้วย DOS
คำสั่งที่จัดว่าเป็นคำสั่งภายใน ได้แก่
1. DIR
หน้าที่ เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงรายชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในดิสก์ ออกทางจอภาพ ดังตัวอย่าง
C:\>DIR สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ C:
C:\>DIR D: สั่งให้เครื่องแสดงไฟล์ทั้งหมดจากแผ่นในไดรว์ D:
C:\>DIR/P  สั่งให้เครื่องแสดงทีละหน้า (Page) แล้วหยุดรอ จนกว่าจะมีการกดคีย์ใดๆ
C:\>DIR/W  สั่งให้เครื่องแสดงชื่อไฟล์บรรทัดละ 5 ไฟล์ (wide)
C:\>DIR *.EXE  แสดงทุกไฟล์ที่มีส่วนขยาย (หรือ นามสกุล) เป็น EXE
C:\>DIR S*.*  แสดงทุกไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร S นามสกุลอะไรก็ได้
C:\>DIR A*.*  แสดงทุกไฟล์ ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A นามสกุลอะไรก็ได้
2. COPY
หน้าที่ ทำการคัดลอกไฟล์ 1 ไฟล์ หรือมากกว่าไปยังแผ่นดิสก์แผ่นเดียวกัน หรือแผ่นอื่น
ตัวอย่าง
C:\>copy test.txt D: 
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ D: โดยใช้ชื่อเดิม
C:\>copy test.txt A:final.txt 
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test.txt จาก C: ไปไว้ที่ A: โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็น final.txt
C:\>copy test1.txt final.txt 
หมายถึง คัดลอกไฟล์ชื่อ test1.txt ไปยังไฟล์ชื่อ final.txt และเก็บไว้ในแผ่นเดียวกัน คือแผ่น C:
C:\>copy cw.bat prn: 
หมายถึง การคัดลอกไฟล์ cw.bat ไปออกทางเครื่องพิมพ์
C:\>copy A:s*.* 
หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S ใน drive A: มาไว้ใน drive C:
3. DELETE
หน้าที่ ลบไฟล์ หรือโปรแกรมออกจากแผ่นดิสก์ บางครั้งมีไฟล์หรือโปรแกรมที่ไม่ต้องการแล้ว ถ้าต้องการให้มีเนื้อที่ว่างในแผ่นดิสก์ ก็สามารถลบออกโดยคำสั่งนี้ ดังตัวอย่าง
C:\>del A:basic.com 
หมายถึง ให้ลบไฟล์ชื่อ basic.com ใน drive A:
C:\>del qbasic.com 
หมายถึง ให้ลบไฟล์ชื่อ qbasic.com ใน drive C:
C:\>del A:*.exe 
หมายถึง ให้ลบไฟล์ใน drive A: ทุกไฟล์ที่มีส่วนขยาย (นามสกุล) เป็น exe
C:\>del f*.* 
หมายถึง ให้ลบไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร F ทุกไฟล์
C:\>del B:*.* 
หมายถึง ให้ลบไฟล์ทุกไฟล์ที่มีอยู่ใน drive B: ออกให้หมด เมื่อมีการใช้คำสั่งนี้ เครื่องจะปรากฏ
คำถาม ดังนี้ Are you sure (y/n)? ถ้าต้องการลบก็กด Y แต่ถ้าไม่ต้องการให้กด N
ก่อน ใช้คำสั่งนี้ต้องแน่ใจว่า เราสั่งถูกต้องแล้ว เพราะถ้าสั่งผิดข้อมูลจะถูกลบ หมด
4. REN (Rename)
หน้าที่ ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ให้เป็นชื่อใหม่ ดังตัวอย่าง
C:\>ren old.exe new.com 
หมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ จากชื่อ old.exe เป็น new.com
5. MD (Make Directory)
หน้าที่ สร้าง Sub directory ขึ้นมาใหม่ เพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นเฉพาะอย่าง เช่น ต้องการจะสร้าง
Subdirectory สำหรับเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ชื่อ TEMPO ก็สามารถจะสร้างดังนี้
C:\>md tempo 
6. CD (Change Directory)
หน้าที่ เปลี่ยนเข้าไปยัง Sub directory ที่ต้องการ หรือออกจาก sub directory มายัง Root
Directory เช่น ถ้าเราต้องการจะเข้าไปใน Sub directory ชื่อ TEMPO ก็สั่ง
C:\>cd\tempo 
หน้าจอก็จะปรากฏ
C:\TEMPO>
ถ้าต้องการจะออกจาก Sub directory ชื่อ TEMPO มายัง Root directory ก็สั่ง
C:\TEMPO>cd\ 
7. RD (Remove Directory)
หน้าที่ ลบ Sub directory ที่ไม่ต้องการแล้ว แต่การจะใช้คำสั่งนี้ได้ จะต้องแน่ใจว่าภายใน
Sub directory ที่จะลบ จะต้องไม่มีไฟล์หรือข้อมูลใดๆเหลืออยู่ เช่น สมมติว่า เราต้องการจะลบ
Sub directory ชื่อ TEMPO ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าไปใน Sub directory นี้เสียก่อน แล้วทำการลบไฟล์
ทุกๆไฟล์ที่มีอยู่ออกให้หมด แล้วกลับออกมาที่ Root directory จากนั้นจึงจะใช้คำสั่ง RD นี้ได้ ดังนี้
C:\>rd tempo 
8. CLS (Clear Screen)
หน้าที่ ลบหน้าจอ เมื่อใช้คำสั่งนี้ หน้าจอจะว่าง เหลือเฉพาะ C:\> (ถ้าขณะนั้นเครื่องทำงานอยู่
ที่ drive C:) การใช้คำสั่งใช้ดังนี้
C:\>cls 
9. DATE
หน้าที่ ใช้สำหรับกำหนด วัน เดือน ปี ที่เป็นปัจจุบันไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง
C:\>DATE 
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
ให้ใส่ เดือน วันที่ และปี ค.ศ. ที่ต้องการเปลี่ยนตามรูปแบบ แล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยน ก็
ให้กด Enter ผ่าน
10. TIME
หน้าที่ เป็นคำสั่งสำหรับใช้กำหนดเวลาที่เป็นปัจจุบันก่อนการทำงาน ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ว่า การ
แก้ไขข้อมูลครั้งล่าสุดได้กระทำเมื่อไร
C:\>TIME 
หน้าจอจะปรากฏข้อความ
Current Date Friday 01-05-1996
Enter new Date (mm-dd-yy)
Current Time is 00:45:50
Enter new time (hh:mm:ss)
ให้ทำการป้อนเวลาปัจจุบันตามแบบฟอร์ม เสร็จแล้วกด Enter แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนเวลาก็กด Enter
ผ่าน ซึ่งหน้าจอก็จะปรากฏเครื่องหมาย C:\>
11. VER
หน้าที่ ใช้สำหรับตรวจสอบดูว่า DOS ที่เราใช้อยู่เป็นรุ่นอะไร โดยการสั่ง
C:\>VER 
หน้าจอจะปรากฏข้อความว่า MS-DOS VERSION 6.22
12. TYPE
หน้าที่ ใช้สำหรับดูข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ประเภท text file เช่นไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น .txt ,
.doc, .bat , .sys ดังนี้
C:\>TYPE AUTOEXEC.BAT 
หมายถึง ให้แสดงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ autoexec.bat ออกทางหน้าจอ
C:\>TYPE CONFIG.SYS > PRN:
หมายถึง ให้แสดงข้อมูลในไฟล์ config.sys ออกทางเครื่องพิมพ์ (พิมพ์ออกกระดาษ)
ข. คำสั่งภายนอก( External Commands)
คำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บไว้เป็นโปรแกรมบนแผ่นดิสก์ ไม่รวมอยู่ในไฟล์ COMMAND.COM จะทำงานเมื่อถูกเรียกใช้ คำสั่งที่จัดเป็นคำสั่งภายนอก ได้แก่
1. CHKDSK
2. DISKCOPY
3. FORMAT
แผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่นั้น จะคล้ายคลึงกับตึกที่ถูกสร้างเสร็จใหม่ๆ มีลักษณะเป็นเนื้อที่โล่งกว้าง ซึ่งถ้าเราจะทำเป็นสำนักงาน ก็ต้องมีการกั้นเป็นห้องๆสำหรับใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ห้องผู้จัดการห้องธุระการ เป็นต้น ซึ่งแผ่นดิสก์เปล่าที่วางขายทั่วไป ก็อยู่ในลักษณะเดียวกันคือ ยังคงเป็นเนื้อที่ว่างๆ ที่ยังไม่มีการจัดแบ่งเป็นห้องใดๆเลย ดังนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำกับแผ่นดิสก์เหล่านี้ก่อนที่จะนำมาใช้งานก็คือ การเตรียมแผ่นให้พร้อมที่จะเก็บข้อมูลเสียก่อน โดยวิธีการที่เรียกว่า การฟอร์แมตแผ่น (Disk Formatting) การฟอร์แมตจะเป็นวิธีการที่แบ่งเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ออกเป็นส่วนๆในลักษณะที่เป็นวงๆ จากขอบนอกสุดของแผ่น ไปจนถึงขอบในสุด แต่ละวงนี้เรียกว่า แทรค (TRACK) โดยในแต่ละแทรคก็จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆ เรียกว่า เซคเตอร์ (SECTOR) ซึ่งแต่ละเซคเตอร์นี้เอง ที่จะใช้เป็นที่เก็บข้อมูล การฟอร์แมตแผ่นโดยใช้คำสั่ง FORMAT นั้น นอกจากจะใช้เตรียมแผ่นที่ซื้อมาใหม่แล้ว ยังใช้กับแผ่นที่ใช้งานเก่าได้ด้วย ซึ่งในกรณีที่นำแผ่นเก่ามาฟอร์แมตใหม่ ก็จะเป็นการลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเก็บอยู่แต่เดิมในแผ่นออกไปด้วย ดังตัวอย่าง
C:\>FORMAT A:  สั่งให้เครื่องทำการฟอร์แมตแผ่น A
C:\>FORMAT A:/S  ฟอร์แมตแผ่น A แล้วบันทึก DOS ลงไปด้วย
C:\>FORMAT B:/V  ฟอร์แมตแผ่น A และตั้งชื่อแผ่น (Volume Label)

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำถามเกียวกับดอส

1. ต้องใช้คำสั่งใดในการเคลีย์หน้าจอ
1.clr
2.cls
3.cle
4.clm

2.ในการดูออปชั่นต่างๆของชุดคำสั่ง ใช้สัญลักษณ์ใด
1. //
2./
3./?
4.///

3.เครื่องหมาย * มีชื่อเรียกว่าอะไร
1.star
2.asterisk
3.dir
4.ถูกทั่งข้อ 1 และ 2

4.เมื่อต้องการดูข้อมูลต้องใช้คำสั่งใด
1.dri
2.dee
3.dry
4.dir

5.ในการลบ folder ต้องใช้คำสั่งใด
1.re
2.fd
3.cd
4.rd
เฉลย
1.2
2.3
3.4
4.4
5.4